วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ปุ๋ยชีวภาพ

          ปุ๋ยชีวภาพ (ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร)   ปุ๋ยเป็นยุทธปัจจัยที่สำคัญ ในการผลิตพืช เนื่องจากปุ๋ยเป็นอาหารของพืช สามารถจำแนกปุ๋ยได้ 3 ประเภท คือ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และปุ๋ยเคมี ในการเลือกใช้ปุ๋ยนั้น เกษตรกรควรศึกษา ข้อดี และข้อเสีย ของปุ๋ยแต่ละประเภท ก่อนเลือกใช้ปุ๋ยแต่ละชนิดปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การเลือกใช้ปุ๋ยให้เหมาะสมกับชนิดและอายุของพืช ความชื้นในดิน คุณสมบัติของดิน และวิธีการใช้ปุ๋ยแบบผสมผสาน จะเป็นแนวทางที่สามารถช่วยให้เกษตรกรได้รับทั้งผลตอบแทนที่สูงสุด เสริมสร้างระบบการผลิตพืชแบบยั่งยืนและความปลอดภัยให้กับสภาพแวดล้อม
          คำนิยามปุ๋ย
ความหมายโดยทั่วไป ปุ๋ย หมายถึง วัตถุหรือสารที่เราใส่ลงไปในดิน โดยมีความประสงค์ที่จะให้ธาตุอาหาร เพิ่มเติมแก่พืช ให้มีปริมาณที่เพียงพอ และสมดุลตามที่พืชต้องการใน พรบ.ปุ๋ย ปี 2518 ได้ให้คำจำกัดความปุ๋ยไว้ว่า หมายถึง สารอินทรีย์ หรือ อนินทรีย์ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติหรือทำขึ้นก็ตาม สำหรับใช้เป็นธาตุอาหารแก่พืชได้ ไม่ว่าโดยวิธีใด หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในดิน เพื่อบำรุงความเติบโตแก่พืช
          ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต ที่สามารถสร้างธาตุอาหารหรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืช หรืออาจเรียกว่า ปุ๋ยจุลินทรีย์ (ยุทธศาสตร์ปุ๋ยชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร. 2548-2553)

               ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพ  ช่วยทดแทนปุ๋ยเคมีในพืชตระกูลถั่ว ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ใส่เพียงครั้งเดียวตลอดชีวิตพืช ช่วยสร้างความสมดุลของธาตุอาหารพืช ใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย ราคาถูก


E.M. (อี.เอ็ม.) คืออะไร (ข้อมูลจาก กศน.บ้านแพรก)  E.M. ย่อมาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพคิดค้นพบโดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ (TEROU HIGA) แห่งมหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เทคนิคทางชีวภาพ รวบรวมเฉพาะกลุ่มจุลินทรีย์ หมวดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ช่วยปรับปรุงสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น จุลินทรีย์หมวดสร้างสรรค์ที่มีใน EM ได้แก่ กลุ่มจุลินทรีย์แสง แลกโตบาซิรัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูเซเลียม สเตปโตไมซิส อโซเบคเตอ ไรโซเบียม ยีสต์รา รูปเส้นใย ฯลฯ
จุลินทรีย์ใน EM ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศ และมีพลัง “แอนติออกซิเดชั่น” ซึ่งเป็นพลังสร้างสรรค์ของชีวิต ป้องกันมิให้มีการทำลายชีวภาพที่สำคัญของเซลล์ได้ป้องกันฤทธิ์ของสารพิษได้หลายชนิด รักษาสภาพธรรมชาติของเซลล์ ได้มิให้เสื่อมสภาพรักษาสุขภาพของคนและสัตว์ มิให้เป็นโรคหรือเจ็บป่วยได้ง่าย


 

ประโยชน์ของจุลินทรีย์โดยทั่วไปด้านการเกษตร

- ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินและน้ำ
- ช่วยแก้ปัญหาจากแมลงศัตรูพืชและโรคระบาดต่าง ๆ
- ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศผ่านได้ดี
- ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ เพื่อให้เป็นปุ่ญ (อาหาร) แก่อาหารพืชดูดซึมไปเป็นอาหารได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการให้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
- ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช พืชให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดีขึ้น
- ช่วยให้ผลผลิตคงทน สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มีประโยชน์ต่อการขนส่งไกล ๆ เช่น ส่งออกต่าง   ประเทศ
- ช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากฟาร์มปศุสัตว์ ไก่และสุกร ได้ภายในเวลา 24 ชม.
- ช่วยกำจัดน้ำเสียจากฟาร์มได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์
- ช่วยกำจัดแมลงวัน โดยการตัดวงจรชีวิตของหนอนแมลงวันไม่ให้เข้าดักแด้เกิดเป็นตัวแมลงวัน
- ช่วยป้องกันอหิวาห์และโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนยาปฏิชีวนะและอื่น ๆ ได้
- ช่วยเสริมสุขภาพสัตว์เลี้ยง ทำให้สัตว์แข็งแรงมีความต้านทานโรคสูง ให้ผลผลิตสูงอัตราการตายต่ำ



แหล่งอ้างอิง : http://school.obec.go.th/nongjabtao/New_Web/chee_va_parp.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น